วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ประวัติ หลวงปู่พวง ฐานวโร วัดน้ำพุสามัคคี จ.เพชรบูรณ์

หลวงปู่พวง ฐานวโร เทพเจ้าวัดน้ำพุ เมืองมะขามหวาน

   




พระเถราจารย์เรืองอาคมขลังแห่งเทือกเขารัง จ.เพชรบูรณ์ พระผู้เฒ่าสิขีขลังเปี่ยมด้วยเมตตาจิตเนื้อนาบุญแห่งเมืองมะขามหวาน ธรรมทายาทหลวงพ่อทบ วัดชนแดน


ศิษย์หลวงพ่อทบ วัดชนแดน สืบวิชาหลวงพ่อเขียน สำนักขุนเณร ลูกศิษย์หลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย ออกธุดงค์เจอครูดีในป่าลึก หลวงปู่พวง ฐานะวโร พระผู้เฒ่า อายุมาก พรรษากาล แห่งนครพ่อขุนผาเมือง เทพเจ้ามหาเวทเทือกเขารังศุนย์รวมใจของชาวบ้าน



ประวัติโดยย่อ หลวงปู่พวง ฐานะวโร พระเกจิอาจารย์แห่งวัดน้ำพุ ผู้เปี่ยมด้วยเมตตา

หลวงปู่พวง ฐานะวโร เดิมชื่อ พวง เพชรมูล เกิดเดือน ธันวาคม พ.ศ ๒๔๖๘ โยมบิดาชื่อ นายยวง เพชรมูล โยมมารดาชื่อ นางเพิ่ม เพชรมูล หลวงปู่พวงบวชตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้ทำการอุปสมบถเมื่ออายุ 21 ปีได้ฉายา " ฐานะวโร " เนื่องจากเลื่อมใสในพระศาสนาและองค์หลวงพ่อทบ พระเกจิแห่งวัดชนแดน บิดามารดาต่างเห็นพ้องด้วยจึงอนุญาติ พระพวงขยันหมั่นเพียรศึกษาพระธรรมคำสอนด้วยจิตตั้งมั่นและได้ศึกษาสรรพวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อทบ ด้วยอุปนิสัยที่เป็นผู้รักเรียนใฝ่หาความรู้ จากนั้นได้ติดตามหลวงพ่อทบไปสำนักขุนเณรได้พบหลวงพ่อเขียน สำนักขุนเณร หลวงพ่อทบได้ฝากฝังหลวงพ่อพวงไว้กับหลวงพ่อเขียน หลวงพ่อพวงได้ฝึกจิตเจริญภาวนาจนสำเร็จ จึงได้เดินทางกลับมาจำวัดที่ดงขุยได้พบหลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย จึงได้ขอต่อวิชากับหลวงพ่ออ้วน ก่อนที่จะได้จำวัดหลวงพ่ออ้วนท่านได้ลองภูมิอยู่นานจนเห็นว่ารับได้จึงอนุญาติให้อยู่ได้เมื่อได้สรรพวิชาอาคมแล้ว หลวงพ่ออ้วนบอกให้ออกธุดงค์เข้าป่าไป หลวงปู่พวงได้ธุดงค์ไปหลายสถานที่เพื่อฝึกจิตให้แกร่ง เจอการทดลองสารพัด เมื่อเห็นที่สุดของชีวิตแล้วได้ธุดงค์มาถึงบ้านเกิด.

ปัจจุบันหลวงปู่พวง ท่านสิริอายุ ๘๖ ปี ๖๕ พรรษา ได้สร้างวัดแห่งแรกคือวัดน้ำพุ เมื่อปี พ.ศ. 2500และทำการ สร้างวัด เมรุ ศาลา กุฏิสงฆ์ โรงเรียนวัดน้ำพุ ฯลฯ สร้างคุณาประโยชน์มากมาย พระเถระผู้ใหญ่มอบชั้นยศหลายครั้ง หลายวาระเพื่อเป็นเกียรติประวัติในการสร้างคุณประโยชน์ไว้ หลวงปู่พวงท่านขอไม่รับ ความเป็นพระใจดีมีเมตตา สรรพวิชาอาคมเข้มขลังศูนย์รวมใจของหมู่บ้าน สมถะเรียบง่ายเป็นกันเอง หลายคนถึงกับเอ่ยว่า “หลวงปู่พวงเทพเจ้าเทือกเขารัง”


หลวงปู่พวง ฐานะวโรท่านเกิดเดือน ธันวาคม ๒๔๖๘ โยมบิดาชื่อ นายยวง เพชรมูล โยมมารดาชื่อ นางเพิ่ม เพชรมูล หลวงปู่พวงท่านได้บวชตั้งแต่เป็นเณรตั้งแตอายุ 18 เนื่องจากศรัทธาในพระศาสนาและตัวหลวงพ่อทบ วัดชนแดน บิดามารดาต่างเห็นพ้องด้วยจึงอนุญาติให้ท่านบวชสามเณร

สามเณรพวงขยันหมั่นเพียรศึกษาพระธรรมคำสอนของพระศาสนาด้วยจิตตั้งมั่นและยังได้ศึกษาสรรพวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อทบ ด้วยอุปนิสัยที่เป็นผู้รักเรียนใฝ่หาความรู้จึงทำให้เป็นผู้คงแก่เรียน

หลวงปู่พวงท่านได้ทำการอุปสมบถเมื่ออายุ 21 ปีได้ฉายา " ฐานวโร " หลังจากบวชพระท่านก็ตั้งใจเรียนกับหลวงพ่อทบจนแตกฉานในอาคมต่างๆจนพอใจจึงได้ออกไปเรียนจากครูอาจารย์อีกหลายสำนัก

หลวงปู่พวงท่านเล่าให้ฟังว่า '' สมัยที่ท่านเรียนวิชาอยู่นั้นหลวปู่ขุ้ยและพระอีก 7 รูปจำชื่อไม่ได้แล้วพากันมาขอต่อวิชากับหลวงพ่อทบกลวงพ่อทบท่านเมตตาสอนให้ทุกองค์แล้วแต่ว่าใครจะได้มากได้น้อยด้วยอุปนิสัยหลวงพ่อทบท่านเขร่งขรึมพูดน้อย "





หลวงปู่พวง ฐานวโร วัดน้ำพุสามัคคี เพชรบูรณ์ 

เจอตัวแล้ว!!! หลวงพ่อที่ม้วนตะกรุดให้หลวงพ่อทบ เมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้วเป็นพระหนุ่มตอนนี้อายุ 87 ปี  66 พรรษาแถมมีวาจาสิทธิ์

หลวงปู่ลมัย สำนักสวนสมุนไพร เคยบอกเป็นนัยๆ ว่า " เพชรบูรณ์ ยังมีช้างเผือกอีกเชือกหนึ่ง ชื่อหลวงพ่อพวง อยู่วัดน้ำพุ เขาแทนฉันได้ ของท่านมีรัศมีดีเหลือเกิน "

ค้นประวัติ สืบความรู้ สืบดูแน่ชัด องค์นี้ ศิษย์แท้ๆหลวงพ่อทบ วัดชนแดน,หลวงพ่อเขียน สำนักขุนเณร และหลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย เสกก้อนหินบ้าง ก้านธูปบ้างให้ศิษย์เอาไปใช้ กันปืนได้,ขวานฟันไม่เข้า,รถชนไม่เป็นไร
 
หลวงปู่พวง วัดน้ำพุสามัคคีองค์นี้ อายุ 87 ปี  66 พรรษา ( เกิด พ.ศ.2468 ) บวชเมื่อเป็นเณร อายุครบบวชพระก็บวชเลย เรียนวิชากับหลวงพ่อทบ มากที่สุด (น่าจะเป็นศิษย์ที่อยู่กับหลวงพ่อทบนานที่สุดในปัจจุบันนี้ ) หลวงพ่อทบรักมาก สอนให้หมด ทั้งพาไปฝากให้เรียนวิชากับหลวงพ่อเขียน ด้วยตัวของท่านเอง ตอนอยู่กับหลวงพ่อทบ ท่านมีหน้าที่ช่วยหลวงพ่อทบ จารตะกรุดมั่งม้วนมั่ง ถักมั้ง ตอนอยู่กับหลวงพ่อเขียน ท่านมีหน้าที่ตักน้ำใส่ถัง ให้หลวงพ่อเขียนทำน้ำมนต์  ต่อมาท่านฝากตัวเรียนวิชากับหลวงพ่ออ้วน วัดดงขุย ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า หลวงพ่ออ้วนรับศิษย์ยากมาก ถ้าไม่เก่งจริงไม่มีพื้นฐาน ท่านจะปฏิเสธแต่กับหลวงพ่อพวง  ท่านทดสอบจนแน่ใจว่า จิตดี บารมีสูง จึงรับเป็นศิษย์ต่อวิชาชั้นสูงให้

ไม่จำเป็นไม่สร้าง  !!! วัตถุมงคลหลวงปู่พวง ถ้าไม่ถึงกาลไม่ถึงวาระจริงๆ ท่านไม่สร้างถ้าสร้างแล้วทำแล้ว ต้องเสกให้ถึงจริงๆให้เป็นของวิเศษจริงๆ พึ่งพาอาศัยได้จริง ยกชีวิต ยกฐานะได้จริง อุปมาดั่ง พลิกฟ้า พลิกดิน ได้จริง ท่านถึงจะสร้าง ท่านว่าถ้าทำแล้วดีกว่าท่อนไม้หน่อยเดียว เราจะทำทำไม ?? ถ้าทำแล้วช่วยเขาไม่ได้เราจะทำทำไม ??? เสียชื่อครูอาจารย์เรา !! ที่วัดน้ำพุสามัคคีจึงไม่สร้างพระพร่ำเพรื่อ ทั้งที่ลูกศิษย์รอวัตถุมงคลของท่านมานานนับสิบๆปี และทั้งที่วัดมีสภาพทรุดโทรมน่าบูรณะตั้งนานแล้ว ถามว่า เมื่อไม่มีพระเครื่องแล้วลูกศิษย์ที่นับถือท่านได้อะไรกลับไป ตอบได้ว่า ท่านหยิบอะไรได้ คว้าอะไรไกล้มือได้ เอามาเสกให้ทั้งนั้น ก้อนหินบ้างใบไม้บ้าง ก้านธูปบ้าง ซึ่งก็ปรากฏว่าของที่ท่านให้ไป มีพุทธคุณสูง ช่วยศิษย์ได้ทั้งนั้น

เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่พวงสร้างออกมาเพื่อซ่อมแซมเสนาสนะภายในวัดเมื่อต้นปี๕๕ ลูกศิษย์ลูกหาเช่ากันล้นหลามแม้กระทั่งมาเลสิงค์โปรเหมารถบัสมาเช่ากันถึงวัดปัจจุบันหากันไม่ได้แล้ว




หลวงพ่อทบ..ห้ามฝน...ห้ามพายุ

หลวงพ่อทบ หลวงพ่อเขียน หลวงพ่ออ้วน
 
บูรพาจารย์หลวงปู่พวง วัดน้ำพุ
 
 



....ในงานปลุกเสกเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อทบ ที่วัดทรงธรรมทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ในปีพ.ศ.2483 ในวันนั้นก่อนพิธีเริ่มได้มีพายุเมฆฝนทำทะมึนปกคลุมทั่วบรืเวณวัด...ตอนนั้นกำนันเต็งศิษย์เอกหลวงพ่อเดิม...อยู่ในเหตุการณ์เห็นท่าไม่ดีจึงรีบไปนิมนต์หลวงพ่อเดิมให้ห้ามฝนไว้ก่อนเดียวงานจะเสีย...กำนันเต็งได้เข้าไปนิมนต์หลวงพ่อเดิมให้ห้ามฝนห้ามลมทันที่...แต่หลวงพ่อเดิมท่านแนะนำให้กำนันเต็งไปนิมนต์หลวงพ่อทบดีกว่า...กำนันเต็งจึงได้รีบเข้าไปนิมนต์หลวงพ่อทบในทันที่หลวงพ่อทบท่านรับนิมนต์แล้วท่านก็ออกไปกลางลานวัดบริกรรมคาถาอยู่พักหนึ่ง...จากนั้นทั้งลมทั้งเมฆฝนที่ปกคลุมบริเวณวัดอยู่..อยู่ๆก็ค่อยสงบลงฟ้าเริ่มสว่างในทันใด...เป็นที่อัศจรรย์แท้ๆ...ตั้งแต่นั้นมาชื่อเสียงของหลวงพ่อทบก็เป็นที่โจษขารกันปากต่อปากมาจนถึงทุกวันนี้........คณาจารย์ที่เข้าร่วมปลุกเสกเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อทบได้แก่ หลวงพ่อเดิม หลวงพ่อเขียน หลวงพ่อทบ หลวงพ่อพิธ หลวงพ่อไปล พระอาจารย์แจ๊ะ พระอุปัชฌาย์ปุ่น เหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อทบปัจจุบันเป็นเหรียญหายากไปแล้ว
ข้อมูลจากหนังสือประวัติหลวงพ่อทบ วัดชนแดน ตอนพิธีพุทธาภิเษก ปี2484 วัดทรงธรรม ทับคล้อ จ.พิจิตร ในปี พ.ศ. 2484 ทางวัดทรงธรรม ต. ทับคล้อ (ปีนั้นยังเป็นตำบล) อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ได้จัดงานฝังลูกนิมิตพระอุโบสถ์หลังใหม่ขึ้น ทางคณะกรรมการวัดในขณะนั้น ประกอบไปด้วยกำนันเต็ง บุรพรัตน์ เป็นประธานได้กราบเรียนขออนุญาตหลวงพ่อ เพื่อจัดทำเหรียญรูปเหมือนหลวงพ่อขึ้น รวมทั้งวัตถุมงคลอื่น ๆ เช่นรูปหล่อหน้าฝรั่ง พิมพ์ใหญ่ และเล็ก ตะกรุดและเครื่องรางอื่น ๆ อาทิลูกอม เพื่อเป็นทุนบูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในวัดทรงธรรมต่อไป ซึ่งหลวงพ่อท่านก็ได้อนุญาตพร้อมทั้งได้มอบยันต์ประจำตัวของท่านให้ด้วย เมื่อทางวัดได้จัดงานฝังลูกนิมิต และได้ทำพิธี พุทธาภิเษกขึ้น ทางคณะกรรมการได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์เข้าร่วมพิธีประกอบด้วย. 1. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์ 2. หลวงพ่อเขียน วัดสำนักขุนเณร พิจิตร 3. หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง พิจิตร 4. พระอุปัชฌาย์ปุ่น วัดดงขุย เพชรบูรณ์ 5. หลวงพ่อไป๋ ญาณพโล วัดท่าหลวง พิจิตร 6. หลวงพ่อ แจ๊ะ ธัมมสาโร วัดบางคลาน พิจิตร(เจ้าอาวาสองค์ต่อจากหลวงพ่อเงิน) 7. หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ วัดสว่างอรุณ เพชรบูรณ์ ก่อนพิธีพุทธาภิเษกจะเริ่มขึ้น หลวงพ่อทบท่านได้สร้างปาฏิหาริย์ขึ้นอีกครั้ง ต่อหน้าประชาชนนับพันคนที่มาร่วมงานพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้ หลวงพ่อทบห้ามฝน ในงานพิธีพุทธาภิเษกที่วัดทรงธรรม ตำบลทับคล้อ อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร งานพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้ มีวัตถุมงคลหลายอย่างที่เข้าร่วมพิธี นอกจากนี้ทางวัดยังจัดเป็นงานประจำปีให้กับประชาชนได้เที่ยวกันอย่างสนุกสนานอีกด้วย แต่พอพิธีปลุกเสกจะเริ่มต้นขึ้น กำนันเต็ง ได้เข้าไปในโบสถ์เพื่อกราบนมัสการหลวงพ่อเดิมว่า แย่แล้วครับหลวงพ่อ ฝนกำลังจะตก ข้าวของพ่อค้าแม่ค้าที่มาออกร้านจะเสียหายหมด ถ้าหากว่าฝนตกคงจะไม่มีใครมาเที่ยวงานมาทำบุญกับทางวัดเป็นแน่ ทางวัดก็จะขาดรายได้ไป หลวงพ่อเดิมจึงถามกำนันเต็งไปว่า แล้วกำนันจะให้ข้าทำอย่างไร กำนันเต็งตอบทันทีว่า ก็หลวงพ่อห้ามไม่ให้ฝนมันตกลงมาซิครับ หลวงพ่อเดิมตอบว่า เอ! มันจะห้ามได้หรือฝนนะ เอายังงี้กำนันไปนิมนต์หลวงพ่อทบก็แล้วกันนะ เรื่องห้ามฝนนี่ข้าไม่ค่อยถนัด กำนันเต็งรีบคลานเข้าไปหาหลวงพ่อทบทันทีและอาราธนาหลวงพ่อให้ห้ามฝน หลวงพ่อทบท่านก็ถ่อมตัวบอกกับกำนันเต็งว่า ข้าจะห้ามได้หรือ กำนันเต็งก็รีบตอบในทันทีเหมือนกันว่า ห้ามได้ครับ หลวงพ่อเดิมท่านก็ว่าหลวงพ่อห้ามได้ผมก็เชื่อว่าหลวงพ่อต้องห้ามได้แน่นอน ถ้าหากว่าหลวงพ่อห้ามได้จริง ๆ แล้วละก็ ผมจะถวายรถเก๋งให้หลวงพ่อ 1 คันครับ หลวงพ่อท่านจึงย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า จริงหรือกำนันที่จะถวายรถเก๋งนะ กำนันไม่เสียดายแน่นะ กำนันเต็งตอบว่าไม่เสียดายหรอกครับ หลวงพ่อทบจึงลุกจากที่นั่ง แล้วเดินออกไปยืนที่หน้าพระอุโบสถ กำนันเต็งก็ออกติดตามหลวงพ่อไปด้วย ขณะนั้นท้องฟ้ามืดครึ้มไปหมด ฟ้าแลบแปลบปลาบ พร้อมกับคำรามกึกก้อง เปรี้ยง ! เปรี้ยง!หลวงพ่อละสายตาจากท้องฟ้าโดยหันไปมองรอบ ๆวัดทรงธรรม ขณะนี้ฝนได้ตกลงมาแล้วทุก ๆ ด้าน มองไปทางไหนจะเห็นฝนตกขาวโพลนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นตลาดทับคล้อ วัดทุ่งโพธิ์ หรือ วัดท้ายทุ่ง หลวงพ่อจึงได้ยืนหลับตาบริกรรมพระเวทย์ เพียงชั่วครู่เดียว ท่านจึงลืมตาขึ้นแล้วใช้นิ้วชี้ของท่านชี้ออกไปเป็นวงกลมล้อมรอบวัดทรงธรรมเอาไว้หมดทุกด้าน จากนั้นหลวงพ่อจึงเดินเข้าไปในพระอุโบสถ พอหลวงพ่อได้เข้าไปในพระอุโบสถแล้ว ฝนที่กำลังตกก็ยิ่งตกหนักกว่าเดิม แต่ด้วยอิทธิฤทธิ์ของหลวงพ่อที่ท่านได้ห้ามฝนเอาไว้ฝนก็ได้ตกเพียงเขตรอบนอกวัดเท่านั้น ส่วนภายในบริเวณวัดทรงธรรม และเขตใกล้เคียงกับวัดไม่มีฝนตกเลยเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก และที่หลวงพ่อได้ห้ามไม่ให้ฝนตกลงมาในครั้งนี้ทำให้ฝนแล้งไม่ยอมตกในบริเวณที่หลวงพ่อได้ห้ามฝนไว้เป็นเวลาหลายเดือนเลยทีเดียวจนในที่สุดชาวบ้านจึงได้เดินทางไปรับหลวงพ่อให้มาแก้อาถรรพ์ที่ ห้ามฝนไว้ ฝนจึงตกต้องตามฤดูกาล จากการห้ามฝนครั้งนี้ เป็นที่เล่าลือของบุคคลโดยทั่วไป โดยเฉพาะผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังมีชีวิตอยู่ แถวทับคล้อที่ได้ล่วงรู้ถึงความมหัศจรรย์เหนือธรรมชาติของจิตตานุภาพของหลวงพ่อว่าท่านไม่ใช่พระธรรมดา หากแต่เป็นพระผู้ทรงอภิญญา สามารถทำในสิ่งที่คนทั่วไปทำไม่ได้ สำหรับรถเก๋งนั้น ทางกำนันเต็งได้นำมาถวายท่านตามสัญญาที่ได้รับปากกับหลวงพ่อเอาไว้ แต่หากหลวงพ่อไม่รับและให้กำนันเต็งนำกลับคืนไป เรื่องนี้เคยมีศิษย์มาเรียนถามท่านว่า ทำไมหลวงพ่อจึงไม่รับรถเก๋งที่เขานำมาถวายเล่า ท่านตอบว่าเอามาทำไม ถึงเอามาข้าก็ขับไม่เป็น สู้เดินไม่ได้สบายใจดี ท่านตอบของท่านอย่างนี้ นี่แหละครับหลวงพ่อทบเทพเจ้าของชาวเพชรบูรณ์ที่แท้จริง ....

ภาพเก่าหายาก หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์

รูปเก่ามาก หลวงพ่อทบ วัดช้างเผือก รูปยืนซ้ายสุด
ดูประวัติ หลวงพ่อ ทบ ด้านล่าง




(คัดลอกข้อความจาก เฟสบุค ขอขอบคุณ ดร.วิศัลย์ โฆษิตานนต์   ภาพจากเฟสบุค)

พระรอดวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ ปี 2496 เป็นอีกรุ่นที่สืบค้นหลักฐานได้ว่าหลวงปู่ได้เข้าร่วมพิธีในการทำพิพุทธาภิเษกด้วย  โดยพิธีการสร้างพระรอดรุ่นนี้ละเอียดทุกขั้นตอน ผสมเนื้อพระเก่าสกุลลำพูนมากมาย วัสดุในการสร้างใช้ดินบริเวณทิศเหนือของวัดพระคง จังหวัดลำพูน ซึ่งเชื่อกันว่าพระรอดมหาวันในสมัย ยุคพระนางจามเทวีวงศ์ก็ใช้ดินบริเวณนี้สร้างเช่นกัน ลักษณะดินละเอียดเหนียว จึงได้นำมาสร้างพระรอดซึ่งมีความแกร่งและละเอียดสวยงาม พิธีพุทธาภิเษก จัดพิธีการสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ ซึ่งได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2496 เวลา 11.45 น. ตรงกับวันขึ้น10ค่ำ เดือน7 ปีมะเส็ง จัตวาศก จุลศักราช 1315 เริ่มพิธีตอนเวลา 9 นาฬิกา21 นาที 41 วินาที และเริ่มจุดเทียนชัยเวลา 19.20 น. โดยมี พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธาน ประกอบพิธีมหามงคล สร้างพระรอด จำนวน 84,000 องค์ เพื่อนำรายได้สมทบทุนสร้างพุทธสถานเชียงใหม่ พระเกจิที่เข้าร่วมพิธีล้วนแต่มีชื่อเสียงโด่งดังมากกว่าสองร้อยรูป..พุทธคุณครบทุกด้านทั้งแคล้วคลาด เมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี ฯลฯ โดยคณาจารย์ที่ร่วมในพิธี ดังกล่าวนอกเหนือจากหลวงปู่พัก (หลวงปู่ภักตร์)แล้วยังมี เจ้าคุณศรีสมโพธิ์ วัดสุทัศน์ เจ้าคุณศรีสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง  หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม  ครูบาวัง วัดบ้านเด่น  พระครูอาคมสุนทร วัดสุทัศน์  หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้  หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี  หลวงพ่อทบ วัดเขาชนแดน  หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง  หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ  หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ  หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว  หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน ฯลฯ 

พระกริ่งหลวงปู่พวงมาแรง
http://pinig2529.blogspot.com/2012/11/blog-post.html


ประวัติ หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ (พระครูวิชิตพัชราจารย์) วัดพระพุทธบาทชนแดน



ประวัติหลวงพ่อทบ วัดพระพุทธบาทชนแดน


หลวงพ่อทบ  ธัมมปัญโญ (พระครูวิชิตพัชราจารย์)  เทพเจ้าแห่งความเมตตา มีพลังจิตแก่กล้าเหลือธรรมชาติวัดพระพุทธบาทชนแดนอ.ชนแดน  จ.เพชรบูรณ์                หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ ความจริงท่านเป็นพระเถระรุ่นเก่า แต่เป็นด้วยเหตุว่าท่านมีอายุ และพรรษาที่ยาวนาน ท่านได้มรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2519 สิริรวมอายุได้ 95 ปี จึงทำให้ท่านเป็นพระเถระที่ไม่เก่าเท่าไรนัก  อาจจะเรียกว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยก็ได้ คือท่านเป็นพระเถระทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่รวมกัน   ถึงแม้ว่าหลวงพ่อทบจะได้ละสังขารไปจากพวกเราแล้วก็ตาม แต่ท่านก็ได้สร้างสมคุณงามความดีเอาไว้ทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นอเนกอนันต์คุณให้ชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงคุณงามความดีของท่านไปอีกนานแสนนาน

ชาติกำเนิด 
 ณ ที่หมู่บ้านยางหัวลม ตำบลนายม(ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นตำบลวังชมภู) จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อ 114 ปีก่อนโน้น ยังมีครอบครัวของชาวไร่ที่มีฐานะมั่นคงอยู่ครอบครัวหนึ่ง
ซึ่งก็เป็นครอบครัวของ คุณพ่อเผือก และคุณแม่อินทร์ นามสกุล ม่วงดี ซึ่งทั้งคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์ได้แต่งงานอยู่กินกันมาเป็นเวลานาน โดยมีบุตรคนหัวปีชื่อ เด็กชายหว่าง และบุตรีคนที่สองชื่อ ใบ แล้วก็ไม่ปรากฏว่าจะได้ลูกอีกเลย ตราบจนเวลาล่วงเลยผ่านไปถึงเจ็ดปี คุณแม่อินทร์จึงได้ตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สาม   เป็นธรรมดาสำหรับผู้มีบุญญาธิการ จะได้มาจุติยังโลกมนุษย์ คุณแม่อินทร์ก็เช่นกัน ขณะที่ท่านจะตั้งครรภ์เป็นครั้งที่สามนั้น ท่านฝันไปว่าได้มีผู้นำช้างเผือกมามอบให้จำนวน 1 เชือก ในฝันท่านก็ได้รับเอาไว้โดยให้เจ้าของเดิมนำไปผูกไว้กับต้นมะขามหน้าบ้าน ช้างเผือกเชือกนี้งดงามมากจริงๆ   พอตื่นจากความฝันแล้ว คุณแม่อินทร์จึงปลุกคุณพ่อเผือก แล้วเล่าความฝันให้ฟัง เมื่อคุณพ่อเผือกฟังจนจบแล้ว จึงได้บอกกับคุณแม่อินทร์ว่าเป็นความฝันที่ดี และเป็นนิมิตหมายว่าจะมีผู้มีบุญญาธิการลงมาเกิด และคุณพ่อเผือกยังบอกคุณแม่อินทร์ต่อไปอีกว่าถ้าหากไม่เชื่อแล้วละก็ขอให้คอยดูกันต่อไป   หลังจากนั้นอีกไม่นานคุณแม่อินทร์ก็เริ่มตั้งครรภ์ และการตั้งครรภ์ครั้งนี้ก็มีความแตกต่างจากการตั้งครรภ์ทั้งสองครั้งแรกนั้นมาก กล่าวคือ เมื่อคุณแม่อินทร์ตั้งครรภ์ครั้งก่อนๆ นั้นท่านแพ้ท้องอยากจะรับประทานของแปลกๆ เช่น อยากจะรับประทานแกงนก ผัดเผ็ดปลาไหล หรือลาบเลือดเป็นต้น   แต่สำหรับครั้งที่สามนี้ ปรากฎว่าคุณแม่อินทร์ท่านรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ไม่ได้เลย ถ้าหากว่าวันไหนท่านรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยเนื้อสัตว์ หรือเพียงได้กลิ่นเนื้อสัตว์ วันนั้นท่านจะรู้สึกไม่สบายไปตลอดทั้งวันเริ่มต้นด้วยเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนเป็นอย่างนี้ตลอดมาเป็นประจำ ทั้งๆ ที่ก่อนจะตั้งครรภ์คุณแม่อินทร์ก็รับประทานอาหารที่ทำมาจากเนื้อสัตว์ได้ และไม่เคยเป็นอะไรมาก่อน พอตั้งครรภ์บุตรคนที่สามก็เริ่มเป็นอย่างนี้ นับว่าแปลกมาก   พอคุณแม่อินทร์ตั้งครรภ์ได้ครบกำหนด 9 เดือน ท่านก็ได้ปวดท้องอย่างแรง และได้คลอดบุตรชายที่น่ารัก น่าเอ็นดูออกมาลืมตาดูโลก เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ2424 ซึ่งตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง    ในขณะที่ทารกน้อยกำลังคลอดออกมานั้น กลับมีกิริยาอาการแปลกประหลาดกว่าทารกแรกเกิดโดยทั่วๆ ไป หรืออาจะเป็นนิมิตหมายของผู้มีบุญญาธิการลงมาจุติก้ได้ กล่าวคือโดยปกติทารกแรกเกิดเวลาที่คลอดออกมาจะต้องส่วนหัวหรือส่วนเท้าโผล่ออกมาก่อน แต่ทารกน้อยบุตรชายของคุณแม่อินทร์ เวลาที่คลอดออกมากลับเอาศรีษะและเท้าโผล่ออกมาพร้อมๆ กัน เมื่อคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์เห็นบุตรชายคลอดออกมาแตกต่างจากทารกโดยทั่วไปเช่นนั้น จึงได้ตั้งชื่อบุตรชายคนใหม่ของท่านว่า “ ทบ”

วัยเด็ก   ในชีวิตวัยเด็กก่อนที่จะบวชเรียนนั้น เด็กชายทบเกิดมาในครอบครัวที่มีฐานะดี จึงไม่ค่อยเดือดร้อนและลำบากเท่าไหร่ เด็กชายทบเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย เป็นเด็กที่ฉลาดอยู่ในโอวาทของบิดามารดา ในสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนประชาบาล ถึงมีก็ต้องมีในเมืองใหญ่ๆ พ่อแม่ผู้ปกครองท่านใดต้องการที่จะให้ลูกหลานเรียนหนังสือก็ต้องนำเอาลูกหลานไปฝากไว้ที่วัด เพื่อให้พระผู้ที่มีวิชาความรู้ได้ฝึกสอนการเขียน การอ่านตัวหนังสือไทย อักขระขอม และคณิตศาสตร์ เท่าที่จำเป็นต้องใช้ในสมัยนั้น   เด็กชายทบก็เช่นกัน พออายุได้ 10 ขวบ คุณพ่อเผือกก็ได้นำไปฝากไว้ที่วัดช้างเผือก เพื่อให้เรียนหนังสือไทย หนังสือขอม พร้อมกับคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กชายทบ ก็ไม่ทำให้คุณพ่อเผือกเสียชื่อ ทั้งเขียน ทั้งอ่านได้คล่องแคล่วกว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน จนได้รับคำชมเชยจาก หลวงตากี ซึ่งเป็นครูสอนเด็กชาวบ้านในขณะนั้นว่า เป็นเด็กฉลาดว่านอนสอนง่าย เติบใหญ่ไปภายหน้าจะได้ดีกว่าคนอื่นๆ  อุปนิสัยของหลวงพ่อทบ ท่านเป็นคนมีเมตตา เยือกเย็น สุขุม ปรานีต่อสัตว์ทั้งปวง ดังจะเห็นได้จากเรื่องนี้ ก่อนที่หลวงพ่อทบจะออกบวชนั้น แถวนายมเมื่อประมาณหนึ่งร้อยปีที่ผ่านมายังเรียกว่าเป็นป่าดงดิบ มีแต่ป่าไม้ สัตว์ป่าชนิดต่างๆ ชุกชุมมาก  ในสมัยนั้นชาวนาชนบทต้องดำรงชีวิตด้วยอาหารจากป่าเป็นส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นหน่อไม้ หัวเผือก หัวมัน ผลไม้ชนิดต่างๆ ป่าไม้ไม่ถูกทำลาย มนุษย์ก็ยังมีไม่มากเหมือนปัจจุบัน ทุกอย่างอุดมสมบูรณ์ไปหมด ถ้าหากว่าออกไปหาอาหารเพียงชั่วครู่ก็จะได้อาหารติดมือมาทำกับข้าวทันที คนในสมัยก่อนโน้นฝากปากฝากท้องไว้กับธรรมชาติ คือป่าเขาลำเนาไพร ซึ่งผิดกับคนในสมัยนี้อย่างลิบลับ ที่ฝากปากฝากท้องไว้กับร้านอาหาร ดูมันง่ายและสะดวกดี  ภายในครอบครัวของหลวงพ่อทบก็เช่นกัน บิดามารดากับคนงานที่จ้างมาทำไร่ ก็มักจะออกหาอาหารในป่าเป็นประจำ และที่ชอบหากันบ่อยก็ได้แก่ ไก่ป่า นกเขา นกคุ่ม เป็นต้น บางทีก็ลงหาตามแม่น้ำลำคลอง ซึ่งที่ได้เป็นประจำคือปลา หอย กบ เขียด เป็นต้น เมื่อหามาได้เป็นจำนวนมาก ก็จะแบ่งให้ญาติพี่น้องเอาไปกินบ้าง ที่เหลือก็จะขังเอาไว้ทำอาหารมื้อต่อไป  เด็กชายทบเมื่ออยู่บ้านเห็นพ่อกักขังสัตว์เหล่านี้ไว้ ก็เกิดความสงสารจึงนำสัตว์เหล่านั้น แอบไปปล่อยเข้าป่า แต่ถ้าเป็นปลา กบ เขียด ก็จะนำไปปล่อยตามแม่น้ำ หนอง บึง ต่อไป  เมื่อบิดากลับมาจากงานไร่และรู้ว่าท่าปล่อยปลา ปล่อยกบ ไปเสียแล้ว ทำให้บิดาท่านเกิดความโมโหและภาคทัณฑ์ไว้ว่า ถ้าปล่อยอีกจะถูกลงโทษ  ต่อมาไม่นานบิดาของท่านไปดักไก่ป่ามาได้และขังเอาไว้ ท่านเข้าก็เกิดความสงสารจึงปล่อยไก่เข้าป่าไป ทำให้บิดาท่านโมโหมาก จึงลงมือทุบตีท่านหลายที แต่แปลกท่านกับยืนรับโทษทัณฑ์อย่างนิ่งเฉย ไม่ร้องไห้ ท่านยืนยอมรับความเจ็บปวดนั้นแต่ผู้เดียว ท่านถูกบิดาทำโทษหลายๆ ครั้งในระยะหลังนี้ก็เพราะท่านเมตตาสงสารสัตว์เหล่านั้น  คุณพ่อเผือกเมื่อทำโทษลูกชายบ่อยๆ ลูกชายของท่านก็ไม่ยอมหลาบจำสักที ท่านจึงต้องยอมแพ้ เพราะถ้าตีต่อไปอาจจะเป็นอันตรายเปล่าๆ และท่านก็รู้นิสัยของลูกช่ายท่านดีว่าเป็นคนเด็ดเดี่ยว มีใจเมตตาปรานีต่อสัตว์ ยอมเจ็บตัวเพื่อแลกกับอิสรภาพของสัตว์ต่างๆ อีกทั้งคุณพ่อเผือกก็เกิดความสงสาร เมื่อท่านคิดได้ดังนั้น ท่านจึงเลิกทำโทษลูกชายตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  หลวงพ่อทบในวัยรุ่นๆ นั้น ท่านมีเพื่อนมากมายทั้งในหมู่บ้านยางหัวลม และหมู่บ้านใกล้เคียง บางครั้งก็มักจะพากันมาเยี่ยมเยียนถามข่าวอยู่เสมอ บางคนก็มาชวนท่านให้ไปล่าสัตว์บ้าง ตกปลาหรือหว่านแหบ้าง บางคนก็มาชวนท่านไปเที่ยวสาวๆ บ้านใกล้เคียงบ้าง ซึ่งท่านในขณะนั้นกลับไม่ยินดียินร้ายแต่ประการใด คงได้แต่ปฏิเสธไป ท่านกลับชอบอยู่คนเดียวอย่างสงบ วันๆ ท่านก็เอาแต่เลี้ยงหมู หมา กา ไก่ ไปตามปกติ พอถึงวันพระท่านก็จะไปทำบุญตักบาตรที่วัดช้างเผือกเป็นประจำ เป็นที่ตื่นตาแก่เด็กวัยรุ่นโดยทั่วไป เพราะวัยรุ่นสมัยนั้นมีหลวงพ่อทบคนเดียวที่ชอบไปทำบุญเมื่อยังไม่แก่เฒ่า

บรรพชาและอุปสมบท    ลุถึงปี พ.ศ.2440 นายทบ  ม่วงดี อายุขณะนั้นได้ 16 ปี ก็บังเกิดความเบื่อหน่ายชีวิตในการครองเรือนที่เห็นว่าไม่มีสาะแก่นสารอันใด หวังเอาพระนิพพานเป็นที่พึ่ง จึงขออนุญาตจากคุณพ่อเผือก และคุณแม่อินทร์ ซึ่งท่านทั้งสองก็มองเห็นความตั้งใจอันดีของลูกชายจึงออกปากอนุญาต และได้นำนายทบ ม่วงดี ลูกชายไปบรรพชาที่ วัดช้างเผือก โดยมี พระอาจารย์สี เจ้าอาวาสวัดช้างเผือกในขณะนั้น เป็นผู้บรรพชาให้  เมื่อเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ก็ได้ศึกษาหาความรู้ต่างๆ ในสำนักของพระอาจารย์สี ไม่ว่าจะเป็นพระธรรม พระวินัย สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน ตลอดจนหัดเทศน์ เรียกได้ว่าท่านไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์อย่างแท้จริง             

จนถึงปี พ.ศ.2445 สามเณรทบ มีอายุครบ 21 ปี ทางคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์ ก็ได้นำสามเณรทบไปทำการอุปสมบทที่ วัดศิลาโมง บ้านนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี ท่านพระครูเมือง เป็นพระอุปัชณาย์  พระอาจารย์ปาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สี เป็นพระอนุสาวนาจารย์  ได้รับฉายาว่า “ธัมมปัญโญภิกขุ”  หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ได้กลับไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือก 2 พรรษา ในระหว่างนี้หลวงพ่อทบก็ได้ใช้เวลาทั้งหมดศึกษาวิปัสสนากรรมฐานจาก พระอาจารย์สี ซึ่งในขณะนั้นพระอาจารย์สี เป็นพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทางวิปัสสนากรรมฐาน เวทมนตร์คาถา หลวงพ่อทบได้ศึกษาและฝึกฝนจนแก่กล้าเป็นที่ยอมรับของพระอาจารย์สี   ต่อมาท่านก็ได้เดินทางไปขอศึกษาวิชาเพิ่มเติมจาก พระอาจารย์ปาน เจ้าอาวาสวัดศิลาโมง ตำบลนายมในสมัยนั้น ซึ่งหลวงพ่อทบก็ได้เรียนวิชากับพระอาจารย์ปานจนสำเร็จสมกับความตั้งใจ   พระอาจารย์สีและพระอาจารย์ปาน แท้จริงแล้วทั้งสองท่านนี้เป็นศิษย์ของ หลวงพ่อทรัพย์ตาพรรณ ในครั้งแต่ก่อนโน้นเป็นที่เลื่องลือว่าหลวงพ่อทรัพย์ตาพรรณเป็นผู้วิเศษ มีวาจาอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อกล่าวอะไรออกมาย่อมเป็นดังคำพูด

ออกแสวงหาความรู้     เมื่อหลวงพ่อทบได้ศึกษาวิชาความรู้จากพระอาจารย์สีและพระอาจารย์ปานจนเจนจบครบถ้วนหมดแล้ว ท่านจึงเข้าไปกราบลาพระอาจารย์สี เพื่อที่จะไปแสวงหาความรู้ต่อไปอีก พระอาจารย์สีเห็นความเด็ดเดี่ยวและตั้งใจจริงของท่าน จึงกล่าวอนุญาตให้ไป พร้อมกันนี้พระอาจารย์สียังได้กล่าวฝากวัดช้างเผือกกับท่านอีกว่า “หากจะถึงวาระสุดท้ายของชีวิตแล้ว ก็ให้กลับมาพัฒนาวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้างนะ” ซึ่งท่านก็รับคำ  จากนั้นท่านก็ได้ออกเดินทางไปจำพรรษาที่ วัดวังโป่ง อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นเวลาอีก 2 พรรษา พอออกพรรษาจึงคิดที่จะออกจาริกแสวงหาวิชาความรู้ไปในที่ต่างๆ ต่อไปอีก  หลังจากที่หลวงพ่อทบได้ตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะออกท่องเที่ยว เพื่อเสาะแสวงหาความรู้อย่างแน่นอนแล้ว หลวงพ่อทบซึ่งในระยะนั้นกิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่านยังไม่ค่อยมีใครรู้จัก ก็ได้ออกเดินทางจากวัดวังโป่งทันที โดยออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรแต่เพียงรูปเดียว  ในช่วงที่ท่านได้ออกเดินธุดงค์นี้ ท่านได้บำเพ็ญศีลและเจริญภาวนาพร้อมกับแสวงหาวิชา ศึกษาเวทมนตร์คาถาตามถ้า หน้าผา ผนังหินใหญ่ ที่มีผู้จาริกได้เขียนไว้ในสมัยก่อน บางครั้งท่านได้เดินไปตกหุบเขาที่ไม่มีบ้านเรือนคนอาศัยอยู่เลย ซึ่งต้องอาศัยดำรงชีพด้วยผลไม้หรือใบไม้เท่านั้นในการประทังความหิวโหย แต่ท่านก็ไม่ได้ย่อท้อคงพากเพียรที่จะได้ศึกษาวิชาอาคมอย่างไม่หยุดยั้ง   เคยมีคนกราบนมัสการถามท่านว่า หลวงพ่อเดินธุดงค์ฉันของป่าไม่กลัวอันตรายหรือ ท่านตอบว่าก็ดูพวกสัตว์ต่างๆ มันกิน ก็ไม่เห็นมันเป็นอันตรายเลยนี่  นอกจากนี้หลวงพ่อทบยังเคยผจญกับโขลงช้างป่า ซึ่งกำลังมุ่งหน้ามายังทิศที่ท่านปักกลดภาวนาอยู่หลายครั้ง พอพวกมันเดินเข้ามาใกล้กลดของท่าน ก็จะมีจ่าโขลงออกมายืนบังกลดของท่านเอาไว้ ไม่ให้ช้างเชือกอื่นๆ เข้ามาใกล้กลดของท่านได้เลย



ผจญเสือสมิง   ในป่าดงดิบมักจะมีสิ่งที่เราคาดไม่ถึง เช่น ผีป่า ผีโป่ง ผีกองกอย หรือเสือสมิง หลวงพ่อทบหลุดรอดมาได้ก็ด้วยการอาศัยเจริญเมตตาบารมีเป็นที่ตั้ง ทำให้ผีเหล่านั้นเกรงกลัวไม่กล้าเข้ามารบกวนท่านได้  ครั้งหนึ่งท่านได้เดินธุดงค์ผ่านไปพบกองกระดูกอยู่กับกองผ้าเหลืองเปื่อยๆ ผุๆ พร้อมกับกลดและบาตรที่สิ้นสภาพ หลวงพ่อทบจึงรู้ในขณะนั้นว่าพระธุงดงค์รูปที่มานอนมรณภาพอยู่ตรงหน้านี้ต้องอาบัติในธุดงค์วัตร มีวัตรอันไม่บริสุทธิ์ จึงต้องเอาชีวิตมาทิ้งไว้อย่างน่าอนาถ ท่านจึงได้รวบรวมผ้าเหลือง กระดูก กลด และบาตรเข้าด้วยกันแล้วนำไปฝังอย่างเรียบร้อย พร้อมกับสวดมาติกาบังสุกุลให้เป็นที่เรียบร้อยจึงตกลงใจปักกลดค้างคืนอยู่ที่ตรงนั้น  พอตกดึกในคืนนั้นเอง ขณะที่ท่านกำลังทำสมาธิภาวนา  พลันก็มีสิ่งแปลกปลอมเดินเข้ามาใกล้กลด กลิ่นสาบสางคละคลุ้งโชยเข้าจมูกแทบจะสำลัก  หลวงพ่อทบยังคงนั่งสมาธิภาวนาอย่างแน่วแน่ ไม่ยอมขยับเขยื้อน เจ้าเสือพานกลอนขนาดใหญ่เห็นท่านไม่เกรงกลัวมัน มันจึงแยกเขี้ยวขู่คำรามอย่างดุร้ายหมายจะกัดกินท่านเป็นอาหาร ท่านจึงรวบรวมจิตแผ่เมตตาออกไปให้กับเสือ พร้อมปากก็พูดว่า “เอ็งหากินของเอ็ง ข้าก็ออกธุดงค์เพื่ออยู่ในทางธรรม เอ็งอาศัยสัตว์น้อยใหญ่ต่อชีวิต ข้าก็อาศัยภัตตาหารดำรงชีวิต เอ็งมาข้าก็ดีใจ ไม่มีอะไรก็นอนเสียเถิด”   หลังจากกล่าวจบแล้ว หลวงพ่อทบก็น้อมชีวิตเป็นพุทธบูชา โดยอธิษฐานว่า หากเสือกับท่านมิได้เคยผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรต่อกันในชาติปางก่อน ก็ขอให้เสือหลีกทางให้ ถ้าเคยผูกเวรกันมาก็ขอให้เอาท่านไปกินเพื่อชดใช้กรรม  เป็นที่อัศจรรย์ปรากฏว่าเสือตัวนั้นหยุดคำราม และทำตามคำสั่งของท่านอย่างว่าง่าย เหมือนพูดกับนักเรียน มันลดความดุร้ายลง และค่อยๆ ล้มตัวลงนอนข้างๆ กลดของท่าน ส่วนท่านก็ได้เจริญสมาธิภาวนาจนรุ่งเช้า พอท่านลืมตาขึ้นมาดูอีกครั้ง ก็พบว่าเสือสมิงได้หายไปจากที่มันล้มตัวนอนเมื่อคืนนี้ คงเหลือแต่รอยเท้าของมันที่ทิ้งร่องรอยเอาไว้  หลังจากนั้นท่านก็ได้เดินธุดงค์ต่อไป จนกระทั่งได้พบกับพระธุดงค์อีกรูปหนึ่ง จึงได้ชักชวนกันเดินธุดงค์ไปจนทะลุถึงเขตชายแดนพม่า  ณ ที่นั้นเอง หลวงพ่อทบและพระธุดงค์รูปนั้นก็ได้แสดงอภินิหารซึ่งกันและกัน และได้แลกเปลี่ยนวิทยาคม จนเป็นที่พอใจแล้วต่างก็แยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง  หลวงพ่อทบได้เดินธุดงค์ต่อไปจนถึงประเทศลาว ท่านได้เคยรู้จักคุ้นเคยกับพระเณรที่เวียงจันทร์หลายรูปด้วยกัน เมื่ออยู่ที่นครเวียงจันทร์ ท่านได้ช่วยเหลือพระเณรที่นั่นก่อสร้างสิ่งต่างๆ จนสำเร็จหลายแห่ง จนเป็นที่ชื่นชอบอัธยาศัยของพระเณรในเวียงจันทร์มาก ถึงกับนิมนต์ให้ท่านประจำวัดอยู่ด้วยกันตลอดไป แต่ท่านได้ปฏิเสธไป เพราะท่านยังมีภาระที่จะต้องทำอีกมาก  เมื่อหลวงพ่อได้ปฏิเสธในการอยู่เวียงจันทร์แล้ว ท่านก็ได้เดินธุดงค์ออกจากเวียงจันทน์มุ่งหน้ามายังประเทศไทย ท่านเดินลัดเลาะจนมาถึงเขตชายแดนไทยติดต่อกับเขมรที่จังหวัดตราด ท่านได้เดินธุดงค์เข้าไปในเขตของเขมรต้องผจญกับพวกเขมรต่ำเจ้าแห่งอวิชชามนต์ไสยดำทั้งปวง ต้องกัน ต้องแก้ และทำลาย เรียกว่าไม่มีวิชาอาคมกล้าแข็งจริงๆ แล้ว ก็จะถูกพวกเขมรต่ำทดลองด้วยมนตร์ไสยดำ เช่น ยาสั่งบังฟันหรือบิดไส้ แต่ท่านก็สามารถเอาชนะพวกเดรัจฉานวิชาเหล่านี้ได้ ทำให้พวกเขาเหล่านั้นพากันศรัทธาในตัวท่านมาก นิมนต์ให้ท่านอยู่จำพรรษาในเขตแดนของเขมรตลอดไป แต่ท่านได้บอกปฏิเสธและได้เดินทางเข้าประเทศไทย   ในที่สุดการเดินทางมหาธุดงค์แบบมาราธอนของหลวงพ่อทบก็สิ้นสุดลง จะเห็นได้ว่าท่านเดินด้วยเท้าเปล่าๆ ไปตามทางทุรกันดารแสนจะลำบากยากเข็ญ บางครั้งธุดงค์ไปในที่ห่างไกลหมู่บ้าน มีแต่ป่าดงดิบ และอาหารการกินก็ไม่มี ต้องฉันยอดไม้กับใบไม้แทนข้าว แต่ท่านก็ไม่เคยย่อท้อ ท่านได้เดินธุดงค์จากอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ ไปถึงเขตชายแดนพม่าแล้วย้อนกลับไปประเทศลาว และสุดท้ายก็เข้าชายแดนเขมร นับว่าท่านได้เดินทางด้วยเท้าเปล่าหลายพันกิโลเมตร

กลับมาตุภูมิ   หลวงพ่อทบได้เดินธุดงค์รอนแรมไปเป็นเวลานานๆ จนกระทั่งท่านเห็นว่าสมควรแก่เวลา และวิชาอาคมที่ท่านได้รับมานี้ก็พอที่จะนำไปสงเคราะห์ให้กับชาวบ้านญาติโยมผู้ยากไร้ได้แล้ว อีกทั้งท่านก็จะได้กลับไปประกอบศาสนกิจอุทิศตนเป็นพุทธบูชายังดินแดนที่ท่านได้ถือกำเนิด เพื่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง เป็นมิ่งมงคลต่อบวรพระพุทธศาสนา   เมื่อคิดได้ดังนั้นท่านจึงได้ออกเดินทางจากชายแดนเขมร โดยมีจุดมุ่งหมายปลายทางคือ วัดศิลาโมง ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อท่านได้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้แล้ว ท่านได้ทำการบูรณะวัดครั้งใหญ่ มีการสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ขุดบ่อน้ำ ที่สำคัญท่านได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถขึ้นจนสำเร็จ ใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้ดีจนทุกวันนี้

เรียนวิชากับหลวงปู่ศุข 
หลังจากที่หลวงพ่อทบได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมงแล้ว ท่านยังคงตั้งใจที่จะแสวงหาวิชาความรู้อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อท่านทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดศิลาโมงเข้าที่เข้าทางแล้ว ท่านได้ยินชื่อเสียงเกียรติคุณของ พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ว่าเป็นผู้สำเร็จวิชา 8 ประการ ซึ่งมีน้อยองค์นักที่จะสำเร็จได้ ท่านจึงได้เดินธุดงค์ออกจากวัดศิลาโมง มุ่งหน้าไปที่จังหวัดชัยนาท ในที่สุดท่านก็ได้กราบนมัสการหลวงปู่ศุขสมความปรารถนา และที่วัดปากคลองมะขามเฒ่านี้เอง ท่านก็ได้พบกับพระเกจิอาจารย์อีก 2 รูปที่ได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่ศุข เพื่อขอเรียนวิชาก่อนหน้าที่ท่านจะมาคือ  1. หลวงพ่อเอีย  วัดบ้านด่าน 2.       หลวงพ่อหน่าย  วัดบ้านแจ้งการเรียนวิชาจากหลวงปู่ศุขนั้นก่อนที่ท่านจะมอบวิชาอาคมอะไรก็ตามให้กับศิษย์นั้น ท่านจะทดสอบพลังจิตของศิษย์แต่ละองค์เสียก่อนว่ามีความกล้าแข็งสักเพียงใด จากนั้นจะถามถึง วัน เดือน ปี เกิด ของแต่ละองค์เสียก่อน ซึ่งการที่ท่านต้องทดสอบและไต่ถามก็เพื่อท่านจะได้ทราบถึงความสามารถ วาสนา บารมีของแต่ละองค์ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ควรจะมอบวิชาอะไรให้ถึงจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งหลวงปู่ศุขท่านก็ได้มีเมตตา มอบวิชาอาคมต่างๆ ให้กับหลวงพ่อทบหลายอย่าง ซึ่งท่านก็ได้ใช้วิชาเหล่านั้นสงเคราะห์ญาติโยมมาตลอดชีวิตของท่าน

มอบตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเง่า   
หลังจากที่หลวงพ่อทบได้กลับจากการธุดงค์ไปกราบนมัสการท่านพระครูวิมลคุณากรหรือหลวงปุ่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งหลวงพ่อทบก็ได้เดินธุดงค์กลับมาจำพรรษาที่วัดศิลาโมงตามเดิม หลังจากนั้นในระหว่างปี พ.ศ. 2461-พ.ศ.2468 หลังจากการออกพรรษาทุกปี ท่านได้ใช้เวลาในช่วงนี้เดินทางไปกราบนมัสการขอเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมกับ ท่านพระครูสังวรธรรมคุต หรือ หลวงพ่อเง่า พระเถระผู้เฒ่า อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีภูมิ(วัดบ้านติ้ว) และอดีตเจ้าคณะจังหวัดหล่มสัก ซึ่งท่านก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเง่า และหลวงพ่อเง่าได้มีความเมตตาถ่ายทอดพระเวทวิทยาคมให้กับท่านอย่างไม่มีปิดบังอำพราง ไม่ว่าจะเป็นทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุด มหาอำนาจ กำบัง ล่องหนหายตัว ซึ่งท่านก็ใช้เวลาหลังออกพรรษาถึง 3 ปี จึงได้เล่าเรียนจนสำเร็จ

พัฒนาวัดต่างๆ   
ภายหลังจากที่หลวงพ่อทบได้ไปเรียนพระเวทวิทยาคมจากหลวงพ่อเง่าแล้ว ท่านเห็นว่าวิชาอาคมของท่านนั้นได้เรียนเอาไว้มากแล้ว สมควรที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมผู้ตกทุกข์ได้ยาก ตลอดจนพัฒนาวัดวาอารามในท้องถิ่นแถบนี้ให้เจริญขึ้นมาให้ได้ ท่านจึงได้ยุติการเดินธุดงค์เอาไว้ก่อน และได้ใช้เวลาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดสงเคราะห์ญาติโยม และได้สร้างถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาให้ได้ โดยท่านได้สร้างพระอุโบสถให้กับวัดต่างๆ ถึง 16 หลัง พอถึงหลังที่ 17 ท่านได้วางเพียงศิลาฤกษ์เท่านั้น ท่านก็มามรณภาพเสียก่อน ในขณะที่ท่านกำลังพัฒนาวัดวาต่างๆ นั้น ท่านได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นพระคู่สวดเมื่อปี พ.ศ.2455 ท่านอายุได้ 29 ปี พรรษา 9 ตอนนั้นท่านกลับมาจากการเดินธุดงค์และจำพรรษาที่วัดศิลาโมง  พอถึงปี พ.ศ.2490 ท่านอายุได้ 66 ปี พรรษา 45 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และพอถึงปี พ.ศ.2497 ท่านมีอายุได้ 73 ปี พรรษา 53 ท่านก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะอำเภอชนแดน และได้รับการสถาปนาจากกรมการศาสนาเป็น พระครูวิชิตพัชราจารย์


อุปนิสัยของหลวงพ่อทบ    หลวงพ่อทบ ท่านมีรูปร่างเล็กแกร่ง นิ้วมือของท่านเรียวงาม ฝ่ามืออ่อนนุ่ม ยามเมื่อท่านลูบหัวศิษย์จะรู้สึกว่า นุ่มประดุจฝ่ามือของบิดามารดาถนอมบุตรกระนั้น  หลวงพ่อทบเป็นพระเถระที่พูดน้อยไม่ค่อยจะช่างคุย ถามคำท่านก็ตอบคำมิได้เสแสร้ง แต่ท่านได้สำรวมมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นัตย์ตาของท่านมีประกายแวววาวแสดงถึงความมีอำนาจทุกคนที่เคยไปกราบนมัสการท่านจะบอกเป็นเสียงด้วยกันว่า นัตน์ตาของท่านมีมหาอำนาจและไม่กล้าสบตากับท่านตรงๆ แต่ว่าในความมีอำนาจนั้นจะแฝงแววแห่งความเมตตาเอาไว้ด้วย   ในการต้อนรับแขกที่เดินทางไปกราบนมัสการท่านในแต่ละวันนั้น ท่านจะตอนรับอย่างเสมอภาคกัน ไม่เคยเลือกฐานะหรือความคุ้นเคยเป็นหลักแม้แต่น้อย ใครมาก่อนพบก่อน ใครมาทีหลังพบทีหลัง คนรวยคนจนในสายตาของท่านก็คือคนเหมือนกัน ถ้าท่านสงเคราะห์ได้ท่านก็จะรีบสงเคราะห์ให้ด้วยความเต็มใจ ไม่เคยเห่อเหิมในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านถือว่าลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นโลกธรรม แม้สมณศักดิ์ที่ได้รับมาท่านก็คงวางเฉยไม่ยินดียินร้าย ท่านยังคงเป็นหลวงพ่อทบ หรือพระอธิการทบธรรมดาๆ ท่านเคยอยู่อย่างไร ท่านก็อยู่อย่างนั้น ทรัพย์สินเงินทองที่เขาถวายท่านมา ท่านก็นำไปลงทุนไว้ในพระพุทธศาสนาจนหมดสิ้น เมื่อท่านถึงกาลมรณภาพก็ไม่มีทรัพย์สินอะไรที่มีค่าพอจะเอามาประกอบพิธีศพของท่านได้ เป็นที่ซาบซึ้งของบรรดาศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ในความมักน้อยสมถะของท่าน  อีกประการหนึ่งที่ท่านได้สั่งสอนอบรมอยู่เสมอนั่นก็คือ ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เพราะท่านเองนั้นได้ทำเป็นตัวอย่างแกศิษยานุศิษย์ ก็คือ ท่านได้มีความกตัญญูต่อบรรดาพระอาจารย์ของท่านที่ล่วงลับไปแล้ว โดยท่านทำบุญกุศลถวายอยู่เป็นประจำทุกปี ในเวลาว่างถ้าหากท่านได้สนทนากับลูกศิษย์เป็นที่ถูกคอแล้ว ท่านมักจะเอ่ยถึงนามพระอาจารย์ของท่านให้ศิษย์ฟังอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ศุข เก่งอย่างนั้น หลวงพ่อเง่าท่านเก่งอย่างนี้ พระอาจารย์สีกับพระอาจารย์ปานเก่งไปอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งนามของพระอาจารย์ของท่านที่ท่านเอ่ยออกมาเป็นการยกย่องไว้เหนือเกล้า ไม่มีการลบหลู่ดูหมิ่นเป็นอันขาด  ปากของท่านก็มีประกาศิตเหมือนปากของพระร่วงเลยทีเดียว พูดคำไหนเป็นคำนั้น ให้พรใครคนนั้นก็เจริญก้าวหน้า ถ้าเผลอสาปแช่งหรือดุด่าก็จะเป็นไปตามปากของท่านทุกประการ นับว่าน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นที่เลื่องลือและกล่าวขานกันมาก ในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่จึงมีคนเดินทางไปขอพรท่านอย่างเนืองแน่นทุกวันมิได้ขาด

รับตำแหน่งเจ้าอาวาส   
ภายหลังจากที่หลวงพ่อทบได้กลับมาจากการเดินธุดงค์แล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดศิลาโมงเรื่อยมา หลวงพ่อทบท่านจำพรรษาที่วัดศิลาโมง ขณะนั้นท่านอยู่ในฐานะพระลูกวัดธรรมดา ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นพระลูกวัดธรรมดา ท่านก็เป็นผู้นำในการก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่างในวัดศิลาโมง จนเจริญรุ่งเรืองกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน  พอถึงปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อทบ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งก็อยู่ห่างจากวัดศิลาโมงออกไปเล็กน้อยเมื่อท่านมาจำพรรษที่วัดเสาธงทอง ซึ่งในขณะนั้นมี พระอธิการย่อง เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ช่วยพัฒนาวัดเสาธงทองให้เจริญรุ่งเรืองจนผิดหูผิดตาเลยทีเดียว พอดีเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ว่างมานาน ทางคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อทบเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้วเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2472 จากนั้นเป็นต้นมาท่านก็เป็นเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ตามลำดับดังนี้1. พ.ศ. 2472 – 2479              เป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว2. พ.ศ. 2476 – 2478   เป็นเจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง3. พ.ศ. 2479 – 2499    เป็นเจ้าอาวาสวัดสว่างอรุณ4. พ.ศ. 2480 – 2497    เป็นเจ้าอาวาสวัดศิลาโมง5. พ.ศ. 2500 – 2519   เป็นเจ้าอาวาสวัดชนแดนตามข้อมูลข้างบนนี้ จะเห็นว่าทางราชการและคณะสงฆ์มองเห็นความสำคัญของท่าน จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดต่างๆ หลายวัด บางวัดก็แต่งตั้งให้ท่านรักษาการเจ้าอาวาสไปก่อน รอจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสตัวจริง เราจะเห็นว่าหลวงพ่อทบทำงานหนักมาก ต่อไปจะเป็นประวัติของวัดต่างๆ ที่หลวงพ่อทบเคยไปเป็นเจ้าอาวาส    วัดเกาะแก้ว  วัดเกาะแก้ว หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดเกาะ ตั้งอยู่เลขที่ 106 บ้านนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 18 ไร่ 93 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ 87 ตารางว่า ติดต่อกับลำคลองวังชมภู ตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 585  พื้นที่วัดเป็นที่ราบ มีลำคลองและทางสาธารณะล้อมรอบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 11 เมตร ยาว 13.20 เมตร สร้างมาแต่โบราณ ศาลาการเปรียญ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2520 กุฏิสงฆ์มีจำนวน 2 หลังเป็นอาคารไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาก และมีเจดีย์ 7 องค์ กล่าวกันว่าสร้างมาแต่สมัยลพบุรี    วัดเกาะแก้วเดิมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานก่อนสมัยสุโขทัย แต่คงจะทรุดโทรมลงบ้างตามกาลเวลา และได้มีการบูรณะก่อสร้างให้เป็นวัดที่มั่นคงนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2398 เป็นต้นมา หลวงพ่อทบได้มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2472-2479     วัดเสาธงทอง  วัดเสาธงทอง หมู่ที่ 4 ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 40 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 4 เส้น ติดต่อกับวังชมภู ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดต่อกับถนนหลวง ทิศตะวันออกยาว 10 เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศตะวันตกยาว 10 เส้น ติดต่อกับวัดร้าง ซึ่งมี น.ส. 3 ก. เป็นหลักฐาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 8.40 เมตร ยาว 9.55 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2519 โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กศาลาการเปรียญกว้าง 16.40 เมตร ยาว 28.90 เมตร สร้างปี 2510 กุฏิมีจำนวน 13 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ และพระมหากัจจายนะ  วัดเสาธงทอง เดิมเป็นวัดที่สร้างมานานกว่า 700 ปี ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมลง และได้มีการสร้างให้เป็นวัดขึ้นอีก ประมาณปี พ.ศ.2387 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2519 หลวงพ่อทบท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2476-2478วัดสว่างอรุณ   วัดสว่างอรุณ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดใน ตั้งอยู่เลขที่ 88 ในหมู่บ้านชนแดน หมู่ที่ 1 ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 8 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 75 วา ติดต่อกับหมู่บ้านชนแดน ทิศตะวันออกยาว 29 วา ติดต่อกับที่ดินนายอัง ทิศตะวันตกยาว 60 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ  พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนาและหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกล้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2384 ศาลาการเปรียญกล้วง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 หอสวดมนต์กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2524  เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กุฏิสงฆ์จำนวน 3 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปั้น  วัดสว่างอรุณสร้างขึ้นเป็นวันนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2451 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.2455 มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ 8 รูป สามเณร 4 รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมที่วัดนี้ และใช้เป็นที่สอบธรรมสนามหลวงด้วย หลวงพ่อทบได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสว่างอรุณ เมื่อ พ.ศ.2479-2499    วัดศิลาโมง  วัดศิลาโมง ตั้งอยู่เลขที่ 170 บ้านยางหัวลม หมู่ที่ 8 ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 11 ไร่ 60 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว 100 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ยาว 150 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว 200 เมตร ติดต่อกับที่ดินของนายป้อม ทัพมีบุญ และทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 75 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 112                พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างประมาณ พ.ศ.2450 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ.2522 หอสวดมนต์กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สร้าง พ.ศ. 2516 กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถและมีเจดีย์เก่าปรักหักพัง                วัดศิลาโมง สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ.2425 ชาวบ้านเรียกว่าวัดยางหัวลม ตามชื่อของหมู่บ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2450 และหลวงพ่อทบ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดศิลาโมง เมื่อ พ.ศ.2480-2497  วัดพระพุทธบาทชนแดน   วัดพระพุทธบาทชนแดน ตั้งอยู่เลขที่ 99 บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับภูเขาน้อยและหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดกับถนนใหญ่ ทิศตะวันออกยาว 5 เส้น ติดต่อกับลำคลอง ทิศตะวันตกยาว 2 เส้น ติดกับถนนสายวัดโป่ง ซึ่งมี น.ส.3 ก. เลขที่ 1361     พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ลาดเอียงอยู่ติดต่อกับภูเขา สภาพแวดล้อมเป็นหมู่บ้านและป่าไม้ อาคารและเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถ สร้าง พ.ศ.2517 พื้นปูด้วยหินอ่อน ศาลาการเปรียญกว้าง 24 เมตร ยาว 34 เมตร สร้าง พ.ศ.2522 เสาคอนกรีตยกพื้นสูง หอสวดมนต์กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สร้าง พ.ศ.2510 มีกุฏิสงฆ์จำนวน 7 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ และรอยพระพุทธบาทจำลองที่ประดิษฐานอยู่บนภูเขา   วัดพระพุทธบาทชนแดน กระทรวงศึกษาได้ประกาศเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2516 ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดพระพุทธบาทเขาน้อย หรือวัดเขาน้อย เพราะตั้งอยู่ที่เขาน้อย โดยมีนายปั้น ก้อนพล บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ซึ่งได้มอบถวายแด่หลวงพ่อทบ พระเกจิอาจารย์ในภูมิภาคนี้    การสร้างวัดได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2517 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2517 ได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม เมื่อปี พ.ศ.2512 หลวงพ่อทบท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทชนแดน เมื่อ พ.ศ. 2500-2519   วัดช้างเผือก   วัดช้างเผือก ตั้งอยู่เลขที่ 313 บ้างยางหัวลม หมู่ที่ 7 ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 เมตร ติดต่อถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 160 เมตร ติดต่อกับที่นาของนางแล่ม ชีพราหมณ์ ทิศตะวันออกยาว 170 เมตร ติดต่อกับที่ดินของบริษัทจุลไหมไทย จำกัด ทิศตะวันตกยาว 190 เมตรติดต่อกับที่ดินของนายชู ชาวใต้ ซึ่งมี น.ส. 3 ก. เลขที่ 219 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีดังนี้ ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ.2517 หอสวดมนต์กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร สร้าง พ.ศ.2512 กุฏิสงฆ์มีจำนวน 2 หลัง มณฑปเก็บศพหลวงพ่อทบ สร้าง พ.ศ.2520 อุโบสถหลังใหม่สร้างแทนหลังเดิม วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2519 ก่อสร้างแล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2535   วัดช้างเผือกสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.2440 ก่อนหลวงพ่อทบจะบรรพชาเป็นสามเณรมีพระอาจารย์สีเป็นเจ้าอาวาส หลังจากพระอาจารย์สีมรณภาพแล้วตามประวัติไม่ได้ระบุว่ามีพระภิกษุมาจำพรรษา จึงทำให้กลายเป็นวัดร้าง จน พ.ศ.2516 หลวงพ่อทบได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ใช้เวลาบูรณะอยู่ 3 ปี ตัวของท่านก็ปวยและมรณภาพในวันงานศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังที่ 17  ปัจจุบันวัดช้างเผือกมีพระอธิการพรหม จันทปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส



ปฏิปทาของหลวงพ่อ    หลวงพ่อทบ ท่านเป็นพระที่มีเมตตา เยือกเย็นสุขุม ปรานีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พูดน้อย ชอบการก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว ได้ทำการก่อสร้างบูรณะวัดวาอาราม ไปตามสถานที่ต่างๆ ท่านได้เป็นผู้นำทำการก่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยไปแล้วถึง 16 หลัง ทั้งยังได้วางศิลาฤกษ์หลังที่ 17 ไว้แล้วที่วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็พอดีท่านมรณภาพเสียก่อน ทั้งนี้ไม่นับผลงานของท่านอีกมากมาย เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ บ่อน้ำ สระน้ำ และอื่นๆ อีก  คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นพระภิกษุที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ ตลอดชีวิตของท่านให้การต้อนรับแกบุคคลทั้งหลายเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตเพียงใด มั่งมีหรือยากจน ผู้ใดเดินทางไปกราบท่านก็จะได้รับการต้อนรับเท่าเทียมกันหมด ไม่มียินดียินร้ายหรือทะเยอทะยานในลาภ ยศ สรรเสริญ  ตรงกันข้าม เมื่อผู้ใดมีความทุกข์ไปหาท่าน ก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ไม่นิยมการสะสมเงินทองหรือทรัพย์สมบัติใดๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วจึงไม่มีทรัพทย์สินใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางโลกอันเป็นส่วนตัวของท่านเลยแม้แต่น้อย   นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ ตั้งอยู่ในโอวาทคำสั่งสอน ท่านเคยพูดว่าที่ต้องกลับมาอยู่วัดช้างเผือกอีก ก็เพราะว่าพระอาจารย์สี พระอาจารย์ของท่านได้สั่งเอาไว้ว่า วาระสุดท้ายให้มาอยู่ประจำวัดนี้อย่าให้ร้าง ทั้งท่านยังได้กล่าวอีก(พ.ศ. 2518) ว่าตัวของท่านขณะนี้ตายแล้ว เพียงแต่ไม่เน่าเท่านั้นเอง




 มีวาจาสิทธิ์   คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นผู้มี วาจาสิทธิ์ คือกล่าวอะไรก็เป็นเช่นนั้น คนที่ทราบเรื่องดีต่างก็มีความยำเกรงมาก โดยเฉพาะพวกอันธพาลงานวัดหลายคนประสบมา ในสมัยที่หลวงพ่อทบเคยเป็นประธานในงานพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ วิหาร ที่ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บางแห่งได้มีพวกนักเลงหัวไม้ก่อการทะเลาะวิวาทตีหัวฟันแทนกันบ้าง เสร็จแล้วก็วิ่งมาหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนละทิศละทาง จนเป็นที่หวั่นเกรงของประชาชนทำให้ไม่กล้ามาเที่ยวงาน เป็นอุปสรรคในการจัดงานของทางวัดอย่างใหญ่หลวง   แต่พอเรื่องราวทราบถึงหลวงพ่อทบเท่านั้น ท่านก็บอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เจ้าพวกที่มาก่อเรื่องนี้มันไปไหนไม่รอดหรอก วนเวียนอยู่กับวัดนี้แหละ แล้วเหตุการณ์ก็จริงอย่างที่ท่านว่าไว้ อันธพาลก่อกวนงานวัดมันหาได้หลบหนี้ไปพ้นไม่ เหมือนมีอะไรมาฉุดรั้งพวกมันไว้ ให้พวกมันวิ่งวนเวียนอยู่ภายในวัดนั้นเองไปไหนไม่รอด ในที่สุดก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจลากตัวไปเข้าห้องขังจนได้ เมื่อเหตุเกิดบ่อยครั้งเข้าข่าวก็ขจายไปทั่ว ทุกคนก็เริ่มเชื่อแล้วว่าต้องเป็นเพราะความที่หลวงพ่อทบท่านมีวาจาสิทธิ์นั่นเอง   มาในระยะหลังนี้จึงปรากฏว่าหากวัดไหนมีงาน ก็มักจะมานิมนต์หลวงพ่อไปเป็นประธาน ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่ามีอันธพาลพวกไหนกล้าไปตอแยอีกเลย งานวัดก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ   อุทาหรณ์เกี่ยวกับการมีวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อทบนี้ มีผู้เล่าลือต่อๆ กันไปหลายเรื่องด้วยกัน เคยมีผู้สมัครสอบเข้ารับราชการหรือนักเรียนนักศึกษาเป็นจำนวนมากได้มาขอพรจากหลวงพ่อขอให้สอบได้ ซึ่งท่านก็มักจะใช้มือตบที่ศรีษะผู้นั้นเพียบเบาๆ และให้พรว่า “สอบได้” เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี ส่วนมากก็จะเป็นไปตามที่ท่านให้พรนั้นทุกประการ   ดังนั้นผู้ใดที่ได้สละเวลาเข้าไปให้ถึงตัวของท่านแล้วจึงไม่ผิดหวัง มีแต่ความสมหลังด้วยกันทั้งนั้น บางคนภรรยาลงเรือนไปหลายวันแล้วยังไม่กลับไม่ทราบว่าไปไหน เป็นตายร้ายดีอย่างไรก้บากหน้ามาหาท่าน ขอพรให้เมียกลับมาบ้านเสียที ท่านบอกกับผู้เป็นสามีว่า “กำลังกลับ” วันต่อมาชายคนที่ว่านี้ก็กลับมาหาหลวงพ่ออีกครั้ง คราวนี้เขาพูดว่า “เมียผมกลับบ้านแล้ว จึงมามนัสการหลวงพ่อ” ว่าแล้วก็ให้หลวงพ่อเป่ากระหม่อมให้ ท่านก็เมตตาเป่าให้ ชายคนดังกล่าวจึงเดินตัวปลิวลงจากกุฏิไป                เกี่ยวกับเรื่องวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อทบนั้น มิใช่เหตุการณ์บังเอิญ อาจจะเป็นไปได้สองประการคือ ท่านรู้เหตุการณ์ข้างหน้าหนึ่ง และท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์หนึ่ง จะสังเกตเห็นได้ว่าท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวใครเลย แม้แต่พระเณรในวัดท่านก็ไม่มีที่จะดุด่า ตรงกันข้ามท่านมักจะกล่าวแต่ถ้อยคำเสนาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้บางคนเห็นว่าท่านเป็นคนพูดน้อยจนเกินไป ยิ่งถ้าเป็นพวกเด็กๆ ด้วยแล้วหลวงพ่อจะเลือกสรรกล่าวแต่ถ้อยคำที่เป็นสิริมงคลแกพวกเขามากยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแต่สิ่งที่ดีนั่นเอง





สำเนาตราตั้งสมณะศักดิ์   ให้เจ้าอธิการทบ วัดสว่างอรุณ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระครูวิชิตพัชรจารย์ ขอพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในอารามโดยสมควร จงเจริญสุขสวัสดิ์ในพระพุทธศาสนาเทอญ   ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2497 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน 
                            ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ    จอมพล  ป.พิบูลสงคราม     นายกรัฐมนตรี


ปัจฉิมวัย    เมื่อปี พ.ศ.2507 หลวงพ่อทบท่านมีอายุได้ 83 ปี ความไม่เที่ยงแห่งสังขารก็เริ่มรุกรานท่านให้เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ในระยะนี้นัยน์ตาของท่านก็เริ่มฝ้าฟางลง จนในที่สุดก็บอดมืดสนิททีเดียว ซึ่งนายแพทย์ผู้รักษากล่าวว่า นัยน์ตาของหลวงพ่อได้หมดอายุแล้ว  ถึงแม้ว่าดวงตาของท่านจะมืดบอดไม่เห็น แต่ท่านก็ยังสร้างและบูรณะวัดวาอารามอีกหลายแห่ง และภายหลังจากที่ท่านได้ระลึกว่า การที่ท่านจะอยู่ในตำแหน่งโดยที่นัยน์ตาของท่านมองอะไรไม่เห็นเช่นนี้ น่าจะไม่ก่อประโยชน์อะไรขึ้นมา  ฉะนั้นท่านจึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งพระครูวิชิตพัชราจารย์ เจ้าคณะอำเภอชนแดน แต่ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านเกินกว่าจะกล่าวได้ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยฐานะกรมการศาสนา ก็มีมติให้ท่านคงดำรงตำแหน่งพระครูวิชิตพัชราจารย์กิตติมศักดิ์ต่อไปจนตลอดอายุ  เมื่อหลวงพ่อทบท่านได้ลาออกจากสมณศักดิ์แล้ว ท่านยังคงคิดถึงวัดที่ท่านได้เคยอาศัยอยู่กับพระอาจารย์สีมาก่อน นั่นคือ วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้างไม่มีผู้ใดจะคิดบูรณะ ร้างมาประมาณกว่า 30-40 ปี แล้ว อนึ่งท่านก็ยังคงจดจำคำของพระอาจารย์สีที่เคยบอกกับท่านไว้เมื่อ 68 ปีที่แล้ว่า หากถึงวาระสุดท้ายก็ให้กลับไปวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้างนั้นได้อย่างแม่นยำ  ดังนั้นท่านจึงได้ออกจากวัดพระพุทธบาทชนแดนทันทีที่ได้รับนิมนต์ให้มาช่วยบูรณะวัดศิลาโมง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดช้างเผือกนัก เพราะเห็นว่าสะดวกดีที่จะได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือกต่อไป  หลวงพ่อทบท่านได้บูรณะวัดศิลาโมง จนเห็นว่าสมควรจะได้ไปทำการบูรณะวัดช้างเผือกแล้ว ท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดช้างเผือกซึ่งร้างรอท่านให้ช่วยปลูกฟื้นฟูอยู่ หลังจากนั้นวัดช้างเผือกก็เปลี่ยนสภาพจากวัดร้างที่ไม่มีใครสัญจรไปมา นอกเสียจากพวกเด็กเลี้ยงควายจะได้ไปอาศัยพักร่มเงาบนกุฏิที่เก่าคร่ำคร่าจะพังมิพังแหล่ ซึ่งมีอยู่หลังเดียวกับศาลาการเปรียญที่ทรุดโทรมอย่างถึงที่สุดแล้ว พระอุโบสถแลเห็นเพียงแต่ฐาน เพราะส่วนบนปรักหักพังลงมาจนหมดสิ้น กลับกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดของตำบลวังชมพูในปัจจุบัน

อาพาธมาเยือน 
 เมื่อวันที่ 13 เดือนมีนาคม พ.ศ.2519 ทางคณะกรรมการวัดช้างเผือกได้จัดให้มีงานประจำปี พร้อมทั้งทำพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งจะได้สร้างขึ้นแทนหลังเดิม ซึ่งได้ปรักหักพังจนหมดสิ้นดังกล่าวข้างต้น  ในวันดังกล่าวปรากฏว่า ประชาชนได้หลั่งไหลไปยังบริเวณงานวัดช้างเผือกอย่างมือฟ้ามัวดิน และอย่างไม่คาดฝันมาก่อน  พอตกกลางคืนนั้นเองก็บังเกิดพายุจัด ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก การแสดงมหรสพทั้งหมดที่มีผู้นำมาเปิดวิกจึงได้งดทำการแสดงทั้งหมด ฝนตกกระหน่ำอยู่ประมาณ 5 ชั่วโมงจึงหยุด ทุกสิ่งทุกอย่างแห่งธรรมชาติกลับคืนสู่สภาพปกติ แต่ทว่าที่บนกุฏิของหลวงพ่อทบ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยลูกศิษย์และญาติโยม ทุกคนเริ่มใจคอไม่ดี ด้วยสังเกตเห็นว่าหลวงพ่อทบเริ่มมีอาการผิดปกติกว่าที่เป็นมามาก พยายามลุกนั่งและฉันหมากอยู่เสมอ มิหนำซ้ำยังได้พูดถึงศพของท่านว่า หากตัวท่านมรณภาพลงจริงๆ แล้ว อย่าได้เผาเป็นอันขาด ให้สร้างเป็นวิหารหรือมณฑปเก็บศพไว้ มิฉะนั้นแล้วความเจริญหรือการปฏิสังขรณ์ใดๆ ที่วัดช้างเผือก ที่กำลังดำเนินการอยู่จะหยุดชะงักลงไปทันที วัดก็จะกลับไปร้างอีก   นายแฉล้ม  ชีพราหมณ์ ซึ่งในระยะหลังนี้นับว่าเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดมากที่สุด มีหน้าที่คอยติดตามหลวงพ่อทบไปทุกแห่งที่ได้รับนิมนต์ไป ได้รับคำหลวงพ่อทบว่า “จะทำตามที่สั่งทุกอย่าง” หลวงพ่อทบจึงมีอาการแจ่มใสขึ้น พูดคุยอย่างสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศที่ตึงเครียดด้วยหัวใจที่หวาดหวั่นของลูกศิษย์และผู้ที่เฝ้าอยู่นั้นผ่อนคลายลงได้

ถึงกาลมรณภาพ
  แต่แล้วเหมือนฟ้าผ่ามาลงท่ามกลางท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งปราศจากเมฆฝนแม้แต่น้อย เมื่อเวลาประมาณเที่ยงวันเศษของวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2519 หลวงพ่อทบเหมือนเป็นไข้ นายแฉล้ม ชีพราหมณ์ เป็นผู้สังเกตอาการของหลวงพ่อทบได้ดีกว่าผู้อื่น เริ่มมีอาการวิตกกังวลเต็มไปด้วยความกระสับกระส่าย  เขาตัดสินใจนำรถมารับหลวงพ่อทบเพื่อที่จะรีบพาท่านไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯทันที แล้วอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ในขณะที่รถกำลังพาท่านไปกรุงเทพฯ มาถึงตำบลนาเฉลียง ออกจากวัดช้างเผือกมาได้ประมาณ 15 กิโลเมตร หลวงพ่อทบก็ปิดเปลือกตาลงอย่างสนิท พร้อมกับการกำหนดลมหายใจเป็นครั้งสุดท้าย มันเป็นเวลาสี่โมงเย็นพอดี หลวงพ่อทบก็มรณภาพลงอย่างสงบบนรถนั่นเอง   ข่าวหลวงพ่อทบมรณภาพดังกึกก้องอย่างรวดเร็ว ประชาชนทั่วทุกสารทิศที่ได้ทราบข่าวต่างก็พากันมุ่งตรงมายังวัดช้างเผือกในทันที วันแล้ววันเล่าที่คณะกรรมการวัดต้องทำงานอย่างหนัก ข้าวของเครื่องบริขารของหลวงพ่อได้รับการสำรวจอย่างถี่ถ้วนโดยเฉพาะพระเครื่องรางของขลังทั้งหมดได้ถูกเก็บรวบรวมในทันที เพื่อรอการตรวจเช็คของกรรมการต่อไป  ประชาชนจำนวนเรือนหมื่นได้ไปออกันอยู่ที่วัดช้างเผือกตลอดเวลาที่มีพิธีบำเพ็ญกุศลมิได้ขาด จนกระทั่งครบ 100 วัน ศพของท่านยังคงเก็บไว้ที่วัดช้างเผือกตลอดมา มิได้ทำการณาปนกิจหรือเผาแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำตามคำสั่งของท่านที่ให้เก็บศพไว้เพื่อสร้างมณฑปและโลงแก้ว สำหรับใช้เป็นที่เก็บศพของท่านอย่างถาวร ให้ลูกหลานได้กราบไหว้ต่อไป ความมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งสำหรับพระเกจิอาจารย์อย่างหลวงพ่อทบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวันเกิดและวันมรณภาพของท่าน ซึ่งไม่น่าจะมาคล้องจองกันได้อย่างประหลาด กล่าวคือ หลวงพ่อทบเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2424  ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง แล้วมรณภาพในวันที่ 14 มีนาคม 2519 เวลาบ่าย 4 โมงเย็น ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ(4) รวมอายุได้ 95 ปี (9+5=14)